จะรู้ได้อย่างไรว่าเคยติดต่อกับผู้เป็น mpox?

ผู้เชี่ยวชาญการสาธารณสุขจากคลินิกสุขภาพเพศ หรือ public health unit (หน่วยสาธารณสุข) (PHP) จะจะแจ้งให้ทราบว่าท่านได้ติดต่อกับผู้ที่เป็น mpox

ท่านอาจได้รับการบอกเล่าจากผู้ที่รู้จักว่าท่านติดเชื้อ

เหตุผลที่อาจเป็นผู้ติดเชื้อได้แก่:

  • ได้มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น mpox
  • ได้ติดต่อทางร่างกายกับผู้ที่เป็น mpox
  • อาศัยอยู่กับผู้ที่เป็น mpox
  • อาจได้สัมผัสกับวัสดุที่ติดเชื้อ เช่นผ้าปูที่นอนหรือเสื้อผ้า

หากท่านติดเชื้อจากผู้ที่เป็น mpox ท่านติดต่อกับ PHUหมายเลข 1300 066 055 ได้ถ้ามีความวิตกกังวล

ควรทำอย่างไรหากเคยติดต่อกับผู้ที่เป็น mpox?

มีการเสี่ยงว่าจะเป็น mpox ได้ในระยะ 21 วันหลังจากได้ติดต่อครั้งสุดท้ายกับผู้ที่เป็น mpox  ดังนั้นผู้ที่เคยติดต่อกับใครที่เป็น mpox ในช่วงเวลา 21 วัน ควร:

  • ติดตามดูร่องรอยหรืออาการของ mpox อย่างใกล้ชิด
  • วัดอุณหภูมิหากรู้สึกไม่สบาย
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือใช้แอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการติดต่อใกล้ชิดกับผู้ที่มีการเสี่ยงสูง (ผู้เยาว์ ผู้สูงอายุ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่ตั้งครรภ์)
  • อย่าบริจาคโลหิต เซลส์ เนื้อเยื่อ น้ำนม น้ำอสุจิ หรืออวัยวะ

หากร่วมเพศหรือสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่เป็น mpox ในเวลา 21 วันท่านควร:

  • ไม่ร่วมเพศ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้อื่น

หากท่านทำงานในสถานอนามัย สถานดูแลเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ โปรดติดต่อ PHU ในพื้นที่ หมายเลข 1300 066 055 เจ้าหน้าที่จะบอกได้ว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อหยุดการแพร่กระจายของ mpox ไปยังผู้อื่นในสถานที่ทำงานของท่าน

ควรฉีดวัคซีนป้องกัน mpox หรือไม่?

ถ้าเป็นเวลาน้อยกว่า 14 วันตั้งแต่ได้ติดต่อกับผู้ที่เป็น mpox และท่านยังไม่ได้ฉีดวัคซีน mpox สองเข็ม ขอแนะนำให้ท่านฉีดวัคซีน mpox ซึ่งป้องกันหลังสัมผัสเชื้อ (PEPV) วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพมากที่สุดถ้าฉีดเร็วที่สุด (ควรฉีดภายใน 4 วันหลังจากติดต่อกับผู้เป็น mpox) แต่ก็ยังให้การป้องกันหลังเวลานี้

ถ้าท่านมีสิทธิ์ฉีดวัคซีน mpox ควรฉีดแม้ว่าจะนานกว่า 14 วันหลังจากติดต่อครั้งสุดท้ายกับผู้ที่เป็น mpox  ค้นหาข้อมูลว่าควรฉีดวัคซีนและจองการฉีดวัคซีนได้ ที่นี่

ฉีดวัคซีนได้ฟรี แม้ว่าไม่มีบัตรเมดิแคร์

อาการของ mpox เป็นอย่างไร?

อาการปรากฎได้ใน 3-21 วันหลังจากที่ติดต่อกับผู้ที่เป็น mpox

บางคนอาจมีอาการเริ่มแรกเช่น

  • เป็นไข้หรือหนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดหลัง
  • อ่อนเพลีย
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

อาการปกติรวมถึง:

  • ผื่น รอยแผลคล้ายสิว หรือแผล โดยเฉพาะในบริเวณที่มองเห็นได้ยาก เช่นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือก้น
  • แผล แผลพุพองหรือเป็นแผลในปาก
  • ปวดทวารหนัก (ปวดในหรือบริเวณรอบๆ ทวารหนัก) ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีผื่น

ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกัน mpox อาจมีอาการเล็กน้อย เช่นเป็นบาดแผลแห่งเดียว (แผล)

ผู้ที่เป็น mpox อาจติดเชื้ออยู่นานถึง 4 วันก่อนมีอาการ

ผู้ที่เป็น mpox ติดเชื้อโรคได้จนกระทั่ง:

  • บาดแผล (แผล) ทั้งหมดตกสะเก็ด
  • คราบสะเก็ดหลุดออกและชั้นผิวหนังใหม่เกิดขึ้นข้างใต้
  • การปวดที่ทวารหนักหายสนิท

คนส่วนมากที่เป็น mpox จะรู้สึกดีขึ้นภายในสองสามสัปดาห์โดยไม่ต้องรับการรักษาอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ

ควรไปตรวจว่าเป็น mpox ไหม?

หากมีอาการ mpox ท่านควร:

  • ปิดบาดแผลที่เปิดโล่ง (แผล) ด้วยผ้าหรือผ้าพันแผล
  • โทรแพทย์จีพีของท่าน หรือ local sexual health clinic (SHC) (คลินิกสุขภาพทางเพศในพื้นที่) แจ้งแก่เขาว่าท่านได้ติดต่อกับผู้ที่เป็น mpox และขอให้เขาตรวจ
  • โทร PHU หมายเลข 1300 066 055 โดยเร็วเท่าที่จะทำได้
  • ในกรณีฉุกเฉิน โทรศูนย์สามตัว (000) ทันทีและแจ้งว่าท่านได้ติดต่อใกล้ชิดกับผู้ที่เป็น mpox

ไม่แนะนำให้ทำการตรวจ นอกจากว่ามีอาการ mpox

หากมีความกังวล ควรโทรแพทย์จีพี หรือ local sexual health clinic (SHC)

มีการสนับสนุนโดยบริการสนับสนุนของ

  • ACON's support services จัดบริการให้การปรึกษาฟรีแก่ผู้ใหญ่ LGBTQ+ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ โทรหมายเลข (02) 9206 2000
  • บริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์และออนไลน์โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนแห่งชาติโดยสมาชิกชุมชน LGBTQ+ โทรหมายเลข 1800 184 527
  • NSW Mental Health Line – 1800 011 511
  • Beyond Blue – 1800 512 348
  • ไลฟ์ไลน์ (Lifeline) – 13 11 14

ข้อมูลเพิ่มเติม

อ่านเอกสารข้อเท็จจริง NSW Health Mpox หรือดูที่เว็บไซต์ NSW Health www.health.nsw.gov.au

ในกรณีฉุกเฉิน โทรศูนย์สามตัว (000) ทันที

สำหรับความช่วยเหลือฟรีในภาษาของท่าน โปรดโทรบริการแปลและล่าม หมายเลข 13 14 50


Current as at: Friday 6 September 2024
Contact page owner: Specialist Programs