ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเป็น mpox (โรคฝีดาษลิง)

อาการของ mpox เป็นอย่างไร?

ตามปกติอาการเริ่มใน 3 - 21 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส

บางคนมีอาการเริ่มแรกได้แก่:

  • เป็นไข้หรือหนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดหลัง
  • อ่อนเพลีย
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

อาการตามปกติได้แก่:

  • ผื่น บาดแผลคล้ายสิวหรือแผล โดยเฉพาะในบริเวณที่มองเห็นได้ยาก เช่นบริเวณเครื่องอวัยวะเพศ ทวารหนักหรือก้น
  • แผลพุพอง บาดแผลหรือแผลในปาก
  • ปวดทวารหนัก (ปวดในหรือรอบๆ ทวารหนัก) ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่เป็นผื่น

ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกัน mpox แล้วอาจมีอาการไม่รุนแรงนัก เช่นเป็นบาดแผล (แผล) แห่งเดียว

ผู้ที่ติดเชื้อ mpox อาจติดเชื้ออยู่เป็นเวลาถึง 4 วันก่อนเริ่มมีอาการ

ผู้ที่เป็น mpox จะแพร่เชื้อได้จนกระทั่ง:

  • บาดแผลทั้งหมด (แผล) ตกสะเก็ด
  • คราบสะเก็ดหลุดออกและชั้นผิวหนังใหม่เกิดขึ้นอยู่ข้างใต้
  • อาการปวดบริเวณก้นหายสนิท

คนส่วนมากที่เป็น mpox จะรู้สึกดีขึ้นภายในสองสามสัปดาห์โดยไม่ต้องรับการรักษาอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ

Mpox แพร่กระจายได้อย่างไร?

Mpox ในออสเตรเลียแพร่กระจายโดยกิจกรรมทางเพศ Mpox แพร่กระจายโดย:

  • การติดต่อโดยตรงทางผิวหนังที่เป็นผื่น แผลพุพองหรือแผล
  • สัมผัสกับน้ำอสุจิหรือของเหลวอื่นจากร่างกายของผู้ที่เป็น mpox

 Mpox อาจแพร่กระจายโดย:

  • สัมผัสวัสดุที่เปรอะเปื้อนเชื้อ เช่นเครื่องหลับนอนหรือเสื้อผ้า หรือ
  • การติดต่อแบบตัวต่อตัวเป็นเวลานานกับผู้ที่เป็น mpox แต่เกิดขึ้นน้อย

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเป็น mpox ?

หากท่านตรวจพบว่าเป็น mpox เจ้าหน้าที่จาก local public health unit (หน่วยงานสาธารณสุข (PHU)) ในพื้นที่ของท่าน หรือจากคลินิกสุขภาพทางเพศจะติดต่อเพื่อให้คำแนะนำ และเพื่อรู้ว่ามีใครอีกหรือไม่ที่กำลังเสี่ยงต่อการติดโรค ด้วยความยินยอมของท่าน PHU จะติดตามผู้ที่ท่านติดต่อใกล้ชิดด้วย (PHU สามารถแจ้งให้เขารู้ได้โดยไม่เปิดเผยตัวตน) ในบางสถานการณ์ผู้ที่ติดต่อใกล้ชิดสามารถรับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันติดเชื้อ mpox

ท่านอาจถูกขอให้เปลี่ยนกิจวัตรประจำวันบางอย่างเพื่อลดการเสี่ยงต่อการแพร่กระจาย mpox ไปยังผู้อื่น ในบางโอกาส PHU อาจขอให้อยู่กับบ้านและแยกตัวตามลำพังหากมีการเสี่ยงสูงในการแพร่กระจาย mpox

คนส่วนมากสามารถจัดการกับอาการ mpox ได้โดยดื่มน้ำให้เพียงพอ และกินยาแก้ปวดที่ซื้อได้จากร้านขายยา (เช่น paracetamol, ibuprofen)

แพทย์ของท่านอาจแนะนำยาบรรเทาอาการปวดหรือครีม ยารักษาแผล ยาระบายอุจจาระ และบางครั้งยารักษา mpox

หากอาการเลวลง ติดต่อแพทย์ของท่าน หรือโทร healthdirect (1800 022 222) หรือในกรณีฉุกเฉินโทรศูนย์สามตัว (000) ทันที และบอกเจ้าหน้าที่ว่าเป็น mpox

ช่วยป้องกันผู้อื่นได้อย่างไร?

หากท่านเป็น mpox ท่านควร:

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์หรือการติดต่อใกล้ชิดกับผู้อื่น
  • ปิดบาดแผลหรือแผลด้วยผ้าหรือผ้าพันแผล
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือใช้น้ำยาล้างมือผสมแอลกอฮอล์เป็นประจำ และหลังจากลัมผัสบาดแผลหรือแผล
  • ปิดปากเวลาไอหรือจามด้วยทิชชูหรือข้อศอกของท่าน
  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่นหากท่านมีแผลหรือเจ็บปวดในปากหรือลำคอ หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจ
  • หลีกเลี่ยงการติดต่อทางร่างกายกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ (ผู้เยาว์ ผู้สูงอายุ ผู้มีความคุ้มกันบกพร่อง และผู้ตั้งครรภ์)
  • แยกนอนในห้องต่างหากและใช้ห้องน้ำของตนเองที่บ้าน (หากจัดได้) และจำกัดการติดต่อใกล้ชิดทางร่างกายกับสมาชิกในครัวเรือน
  • ไม่แบ่งใช้เสื้อผ้า เครื่องหลับนอนหรือผ้าเช็ดตัว และซักผ้าของท่านเอง
  • ไม่ไปสถานเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลคนชราโดยไม่ปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลจาก PHU ก่อน
  • ไปพบแพทย์เฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น (และสวมหน้ากากเมื่อไป)
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าหรือขยี้ตา โดยเฉพาะหากท่านมีรอยโรคหรือแผลใกล้ตาหรือบนมือ
  • บอกให้คู่นอนคนล่าสุดรู้ว่าเขาอาจติดเชื้อ mpox (แพทย์หรือพยาบาลที่ PHU ช่วยแจ้งให้ผู้อื่นทราบได้โดยไม่เปิดเผยตัวตน หากต้องการ)

จะรู้ได้อย่างไรว่าไม่ติดเชื้อแล้ว?

แพทย์จะบอกให้รู้เมื่อท่านไม่ติดเชื้ออีกต่อไปแล้ว

ทันทีที่หายจากอาการทั้งหมดแล้ว ท่านจะไม่ติดเชื้ออีก ท่านจะติดชื้อจนกระทั่ง:

  • บาดแผลทั้งหมดตกสะเก็ด
  • คราบสะเก็ดหลุดออกและชั้นผิวหนังใหม่เกิดขึ้นอยู่ข้างใต้
  • อาการปวดบริเวณทวารหนัก (ปวดในหรือรอบทวารหนัก) หายสนิท

หลังจากนี้แล้ว ท่านทำกิจกรรมปกติได้ดังเดิม แต่ควร:

  • ใช้ถุงยางอนามัยสำหรับกิจกรรมใดๆ ทางเพศเป็นเวลา 12 สัปดาห์หลังจากไม่มีอาการแล้ว
  • ไม่บริจาคเลือด เซลส์ เนื้อเยื่อ น้ำนม น้ำอสุจิ หรืออวัยวะเป็นเวลา 12 สัปดาห์
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคภายในบ้านของท่านให้หมดจด สำคัญอย่างยิ่งหากคราบสะเก็ดอาจตกอยู่ในบ้าน สำหรับคำแนะนำวิธีทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคภายในบ้าน ดูได้ที่ Clinical Excellence Commission website (เว็บไซต์คณะกรรมการความเป็นเลิศทางคลินิก)

ความสนับสนุนอื่นที่มีให้ มีอะไรบ้าง?

ความสนับสนุนมีให้โดยผ่าน:

  • บริการสนับสนุน ACON's - จัดบริการให้การปรึกษาฟรีสำหรับผู้ใหญ่ LGBTQ+ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ - โทรหมายเลข (02) 9206 2000
  • บริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์และออนไลน์โดยไม่เปิดเผยตัวตนจัดทำโดยสมาชิกชุมชน LGBTQ+ โทรหมายเลข 1800 184 527
  • NSW Mental Health Line (สายสุขภาพจิตนิวเซาท์เวลส์) โทรหมายเลข 1800 011 511
  • Beyond Blue – 1800 512 348
  • Lifeline – 13 11 14

ถ้าเคยเป็น mpox แล้ว ควรฉีดวัคซีน mpox ไหม?

ถ้าเคยเป็น mpox แล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน mpox อย่างไรก็ตาม ควรปกป้องตนเองเพื่อไม่เป็น mpox อีก เรียนรู้วิธีอยู่ได้อย่างปลอดภัยจากเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับmpox

ข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อ NSW Health mpox information hub (แหล่งข้อมูล NSW Health mpox) เพื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทร local PHU ที่หมายเลข 1300 066 055 ได้ด้วย

ในกรณีฉุกเฉิน โทรศูนย์สามตัว (000) ทันที

สำหรับความช่วยเหลือฟรีในภาษาของท่าน โทรบริการแปลและล่าม หมายเลข 13 14 50


Current as at: Friday 6 September 2024
Contact page owner: Specialist Programs